ประวัติชุมชน
ประวัติบ้านป่าแงะ หมู่ 4 ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ก่อนปีพุทธศักราช 2410 การเดินทางด้วยเท้า และมีช้าง ม้า วัว ควาย เป็นสิ่งสำคัญมากและเส้นทางเดินเท้าในขณะนั้นได้แก่ เส้นทางจาก นครเชียงใหม่ ไปเมืองไชยปราการ
จะผ่านหมู่บ้านต่างๆ คือ บ้านป่าตัน บ้านเมืองลัง บ้านท่อ บ้านแม่หยวก บ้านพระนอน บ้านพระเจ้านั่งโก๋น
บ้านป่าแงะ บ้านศาลา บ้านดอนแก้ว บ้านบ่อปุ๊ บ้านแม่สา บ้านท่าวัง บ้านขอนตาล บ้านสบริม และขณะเดินทางตลอดสายจะมีการพักแรม ซึ่งการพักแต่ละจุดนั้นจะทำเครื่องหมายไว้
ขณะนั้นพระมหากษัตรย์ที่ปกครองหัวเมืองต่างๆ ได้เดินทางผูกสัมพันธ์ไมตรีหรือยกทัพไปตีหัวเมืองต่างๆ ก็ใช้วิธีการเดินทางเช่นนี้เหมือนกัน พอพักแรมตรงไหนก็จะทำเครื่องหมายไว้เช่นกัน และในการเดินทางจะต้องมี พระพุทธรูปติดตัวไปหรือยึดได้
จากการยกทัพไปตีหัวเมืองต่างๆ
จากประวัติที่นำมาอ้างอิง และจากคำบอกเล่า สืบต่อกันมานั้น พระเจ้านั่งโก๋น เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ พระมหากษัตรย์ในขณะนั้นเป็นผู้สร้าง โดยเจาะ ต้นไม้ใหญ่ชื่อต้นไม้กระบก ภาษาเหนือมีชื่อว่าต้นบะมื้น
ให้เป็นโพรงจนถึงตรงกลางต้นไม้ สูงขึ้นไปประมาณ สองเมตรหรือเท่าหลังช้างและได้นำพระพุทธรูป
ประดิษฐานไว้ข้างใน เพื่อให้ผู้เดินทางผ่านไปมา ได้เคารพ กราบไหว้ ชาวบ้านอาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ราบ (ปัจจุบันเป็นสถานที่ตั้งหน่วยราชการ คือโรงพยาบาลนครพิงค์) ขณะนั้นได้ไปพบและเล่าต่อกันว่าม
ีพระพุทธรูปอยู่ในโพรงไม้บะมื้น ซึ่งบริเวณดังกล่าวไม่มีผู้คนอาศัย เป็นที่ทำนาและทำสวน
ในปีพุทธศักราช 2410 เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ไม่ทราบนามพระองค์ไหน ได้ริเริ่ม สร้างวัดขึ้น
เพื่ออุทิศให้ราชโอรส วัดที่สร้างขึ้นนั้นมีชื่อว่า วัดสหลีดอนชัย (วัดศรีดอนชัย) และชาวบ้านในขณะนั้น
เรียกชื่อวัดว่า วัดพระเจ้านั่งโก๋น เช่นกัน
ต่อมาทางการได้เวรคืนที่ที่ชาวบ้านอาศัย โดยให้ชาวบ้านในขณะนั้น ย้ายออกและเป็นที่ของทางการทั้งหมด
ชาวบ้านจึงพากันอพยพย้ายออกมา บางกลุ่มก็ได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานที่อื่น บางกลุ่มก็ย้ายไปอยู่ด้านทิศตะวันออก
ของวัด และตั้งชื่อหมู่บ้านตามลักษณะของภูมิประเทศ และสิ่งแวดล้อม เช่นบ้านป่าแงะ ตามชื่อต้นไม้แงะ
(ภาษาเหนือ)
ที่ขึ้นอยู่มากมายและชาวบ้านบางกลุ่ม ก็ย้ายมาอยู่ทางด้าน ทิศตะวันออกคือบริเวณที่ราบซึ่งเป็นป่าที่มี
พระพุทธรูป
ประดิษฐานอยู่ในโพรงไม้ จึงเรียกชื่อกลุ่มหมู่บ้านนี้ ว่าบ้านพระเจ้านั่งโก๋น และอีกกลุ่มเรียกว่าบ้านป่าแงะ ซึ่งจะรวมกันทั้งหมดเป็นบ้านป่าแงะ ที่ทางการอนุมัติ จากนั้นมีประชากรเพิ่มขึ้นจำนวนมากและพื้นที่ดูแลกว้างจึงได้ดำเนินการขออนุมัติแยกหมู่บ้านจากกระทรวง
มหาดไทย ซึ่งได้รับการอนุมัติแยกพื้นที่หมู่บ้านออกเป็นหมู่ที่ 10 บ้านพระเจ้านั่งโก๋น เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2544
ประวัติสถานบริการ
ศูนย์แพทย์ชุมชนดอนแก้วเปิดดำเนินการ ในเดือน กรกฎาคม 2543 ได้งบประมาณสนับสนุนจากกระทรวง สาธารณสุขตามโครงการเวชปฏิบัติครอบครัว และองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วในด้านอาคารสถานที่ ต่อมาในปี 2545 ได้ปรับรูปแบบการดำเนินงานเป็นศูนย์สุขภาพชุมชน
ซึ่งเป็นงานในความรับผิดชอบ ของกลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลนครพิงค์ ให้บริการตรวจรักษาโรคเบื้องต้น บริการแพทย์แผนไทย แก่ผู้รับบริการทั่วไป และบริการสาธารณสุขแบบองค์รวมผสมผสานต่อเนื่อง แก่ประชากรในพื้นที่รับผิดชอบ หมู่ 4 หมู่ 5 หมู่ 8 และหมู่ 10 ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม
สภาพทางภูมิศาสตร์ / อาณาเขต
ลักษณะพื้นที่ โดยทั่วไปเป็นที่ราบ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 34.953 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่อยู่อาศัย ของราษฎร หรือเขตชุมชน 1 ใน 4 ของพื้นที่ทั้งหมด คือพื้นที่ทางฝั่งขวาของถนนเชียงใหม่ ฝาง (ด้านตะวันออก) สำหรับพื้นที่ที่เหลือ 3 ใน 4 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นเขตทหารอยู่ทางฝั่งซ้ายของถนนเชียงใหม่ ฝาง (ด้านตะวันตก) และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของส่วนราชการ หน่วยงานต่างๆ
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลแม่สา อำเภอแม่ริม
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลช้างเผือก ตำบลป่าตัน อำเภอเมือง
และสันดอยปุย อำเภอเมือง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลสันผีเสื้อ อำเภอเมือง
และตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริม
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม
ด้านศาสนา
นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 98 ของประชากรทั้งหมด
นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 2 ของประชากรทั้งหมด
วัด จำนวน 2 แห่ง ได้แก่
1. วัดปิยาราม ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ 4
2. วัดพระนอน ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ 5
โบสถ์คริสต์ จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ โบสถ์คริสต์จักร ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ 4
บทบาทขององค์กรในชุมชน / การประสานงานกับองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน
อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)
อาสาสมัครสาธารณสุข ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ/ทำงานนอกบ้าน ทำให้มีเวลาว่างน้อย การจัดอบรม / ประชุม / การเข้าร่วมกิจกรรม และการดำเนินงานต่างๆ ทางด้านสาธารณสุข มักจะไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร ประกอบกับสภาพชุมชนเป็นชุมชนเมือง ประชากรส่วนใหญ่มีความรู้ ประกอบอาชีพ / ทำงานนอกบ้าน และมีภูมิลำเนาอยู่ที่อื่นแล้วย้ายเข้ามาอยู่ในพื้นที่ ทำให้อาสาสมัครสาธารณสุขเข้าถึงชุมชนค่อนข้างยาก และได้รับความร่วมมือน้อย
ผู้นำหมู่บ้าน
บุคลากรยังขาดประสบการณ์ และทักษะในการทำงานชุมชน และขาดการประสานงานที่ดี กับผู้นำหมู่บ้าน ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้นำหมู่บ้านยังไม่เห็นความสำคัญของงานด้านสาธารณสุข ทำให้การดำเนินกิจกรรม ทางด้านสาธารณสุขบางเรื่องไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร เช่น การประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย การรณรงค์กิจกรรมต่างๆ องค์การบริหารส่วนตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว
เห็นความสำคัญของงานด้านสาธารณสุข ให้การสนับสนุนในด้านอาคารสถานท ี่ในการเปิดบริการศูนย์แพทย์ชุมชน ดอนแก้ว สนับสนุนด้านงบประมาณในการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในพื้นที่ ให้ความร่วมมือ และดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขร่วมกับศูนย์แพทย์ชุมชนดอนแก้ว