กลับหน้าหลัก

................................

 

สถานีอนามัยบ้านซาง

 

 

ประวัติการตั้งถิ่นฐานของหมู่บ้านซาง

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านซาง  จากคำบอกเล่าของคุณอุทิศ  กลั่นกล้า ซึ่งเคยบวชเป็นสามเณร อยู่ที่วัดสามัคคีธรรมเป็นเวลา 10 พรรษา และเป็นพระภิกษุอีก 16 พรรษา ซึ่งเป็นคนที่ชอบศึกษาอักษร ใบลาน ได้เล่าว่า เดิมทีนี้ประกอบด้วย 3 หมู่บ้านด้วยกันคือ บ้านป่าอ้อย(บ้านใหม่) ซึ่งเกิดจากอุ้ยเป็ง และอุ้ยจ๋อง มาอยู่ก่อนและได้ปลูกอ้อยเอาไว้เพื่อเลี้ยงช้าง จึงได้ชื่อว่าบ้านป่าอ้อย และอีก 2 หมู่บ้าน คือ บ้านดงขี้เหล็ก และบ้านดงป่าแก ทั้ง 3 หมู่บ้านก็ได้สร้างวัดขึ้นร่วมกัน คือ วัดเงี้ยว ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อ เป็นวัดสามัคคีธรรม(ในปัจจุบัน)  ซึ่งเกิดจากความสามัคคีของ 3 หมู่บ้าน เท่าที่จำได้ในปี พ.ศ. 2444 ได้มีเจ้าอาวาสรูปแรก ชื่อ พระก๊อ และได้มรณภาพด้วยไข้ทรพิษและชาวบ้านได้เก็บกระดูกไว้ที่หลังวัด พร้อมสร้างเจดีย์ขึ้น จึงเป็นที่นับถือของชาวบ้าน  เชื่อว่าพระก๊อ เป็นผู้ที่ช่วยปกป้องรักษาให้ชาวบ้าน อยู่เย็นเป็นสุข เจ้าอาวาสรูปต่อมา ชื่อ พระคำ(ตุ๊ธิ) ได้มรณภาพเมื่อ 2 ปีก่อน ปัจจุบันที่เป็นชื่อบ้านซางได้ ้ก็เพราะ (จากคำบอกเล่าของคุณอุทิศ)  เดิมทีนี้ ชาวบ้านมีฝีมือในการเป็นช่างไม้  ช่างทำบ้าน ช่างก่อสร้าง และช่างงานฝีมือต่างๆ ซึ่งจากการสังเกต   เมื่อมีงานประเพณีต่างๆ ชาวบ้านก็จะมีการพูดคุย ปรึกษาหารือกันก่อนว่าต้องปฏิบัติหรือจะสร้างกันอย่างไร จะมีการทำยังไงจึงได้ชื่อเรียกกันว่าบ้านช่าง เวลาต่อมาก็มีการเรียกที่เพี้ยนไปเป็นบ้านซาง  จนถึงปัจจุบัน ในสมัยรัชกาลที่ 6  ได้มีการประกาศ ให้ใช้นามสกุลได้ ในหมู่บ้านซางทางด้านทิศเหนือ จะมีนามสกุลที่มีคำว่า ธง นำหน้า เช่น ธงสาย  ธงทอง  ธงดำ  ธงลอย   ส่วนทางด้านทิศใต้  ก็จะมีนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า ขัน นำหน้า เช่น ขันไข  ขันเงิน ขันธรรม ปัจจุบันหมู่บ้านซางมีเนื้อที่ประมาณ 2,200 ไร่  หรือ 4.06 ตารางกิโลเมตร แบ่งเขต เป็น 2 ป๊อก
ป๊อกที่ 1 บ้านป่าอ้อย
ป๊อกที่ 2 บ้านซาง
ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การกสิกรรมเพาะปลูก มีแม่น้ำปิงผ่านทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน มีคลองชลประทานเล็กไหลผ่านทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน

ประวัติการก่อตั้งสถานีอนามัยบ้านซาง

สถานีอนามัยบ้านซาง  ตั้งอยู่ในบ้านหมู่ที่ 4 บ้านซาง  ตำบลขี้เหล็ก  อำเภอแม่ริม  จังหวัดเชียงใหม่ มีบริเวณเนื้อที่ประมาณ 8 ไร่ 1 งาน ซึ่งเป็นสถานที่วัดร้างเก่าแก่ จากประวัติเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ว่า วัดมีอายุประมาณ 500 ปี  ซึ่งมีโบราณวัตถุแสดงอยู่คือโบสถ์ปรักหักพังและจากการขุดพบพระพุทธรูป เครื่องปั้นดินเผาต่างๆต่อมาทางราชการได้ขออนุมัติก่อสร้างสถานีอนามัยบนพื้นที่ดังกล่าว โดยมีเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขประจำอยู่ดังนี้

1.นางอัมพร              ศรีวิชัย         ปฏิบัติงานตั้งแต่         พ.ศ.2520-2520
2.นายแช่ม               ผืนกระโทก     ปฏิบัติงานตั้งแต่         พ.ศ.2520-2521
3.นางสาวอำพร           คิวฝอ           ปฏิบัติงานตั้งแต่         พ.ศ.2521-2524
4.นางจงจิตต์             ใจยอด         ปฏิบัติงานตั้งแต่         พ.ศ.2524-2527
5.นายวีระศักดิ์            ใจยอด         ปฏิบัติงานตังแต่         พ.ศ.2524-2527
6.นายเกรียงศักดิ์         ไชยา           ปฏิบัติงานตั้งแต่         พ.ศ.2527-2528
7.นายศศิธร              หมวกเครือ     ปฏิบัติงานตั้งแต่         พ.ศ.2527-2537
8.นางพัฒนาการ          ผลศุภลักษณ์    ปฏิบัติงานตั้งแต่         พ.ศ.2529-2531
9.นางสุวารี               ตาเขียว        ปฏิบัติงานตั้งแต่         พ.ศ.2531-2532
10.นายวีรชัย             คำนวณศิลป์    ปฏิบัติงานตั้งแต่          พ.ศ.2532-2533
11.นางภัทรจารินทร์    เมี่ยงหอม        ปฏิบัติงานตั้งแต่          พ.ศ.2533-2542
12.นางจุรีย์               บุญคุ้ม        ปฏิบัติงานตั้งแต่          พ.ศ.2534-2539
13.นางสาวดุจเนตร     สุริยา            ปฏิบัติงานตั้งแต่          พ.ศ.2539-2542
14.นางอำพร           อินทร์ประเสริฐ   ปฏิบัติงานตั้งแต่          พ.ศ.2541-2548
15.นางภัทรินทร์        นาคสุริยะ        ปฏิบัติวานตั้งแต่          พ.ศ.2542-2542
16.นายผยุงศักดิ์        ก้อนแก้ว         ปฏิบัติงานตั้งแต่          พ.ศ.2542-2542
17.นางวรรณา          สวัสดิ์            ปฏิบัติงานตั้งแต่          พ.ศ.2542-2542
18.นางศิริธร            ชวนประเสริฐ  ปฏิบัติงานตั้งแต่            พ.ศ.2542-2544
19.นางณิชานันท์        รัญเสวะ         ปฏิบัติงานตั้งแต่          พ.ศ.2543-ปัจจุบัน
20.นายศิริพงษ์          บรรพลา         ปฏิบัติงานตั้งแต่          พ.ศ.2548-2550
21.นางนงคราญ         วิชัยปะ          ปฏิบัติงานตั้งแต่          พ.ศ.2550-ปัจจุบัน

สภาพภูมิศาสตร์

สถานีอนามัยบ้านซาง ตั้งอยู่บนพื้นราบ อยู่ห่างจากอำเภอแม่ริมไปทางทิศเหนือ ประมาณ 12 กิโลเมตร  มีเขตรับผิดชอบจำนวน 3 หมู่บ้าน คือบ้านห้วยน้ำริน  หมู่ที่ 3  ตำบลขี้เหล็ก  บ้านซางหมู่ที่ 4  ตำบลขี้เหล็ก และบ้านต้นขาม หมู่ 5 ตำบลขี้เหล็ก  มีเนื้อที่รับผิดชอบประมาณ 19 ตารางกิโลเมตร เป็นที่อยู่อาศัย ประมาณ 10  ตารางกิโลเมตร  เป็นพื้นที่การเกษตร  6  ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อของสถานีอนามัยบ้านซาง

ทิศเหนือ      ติดต่อกับ    บ้านต้นขามหมู่ที่ 5   ตำบลขี้เหล็ก   อำเภอแม่ริม  จังหวัดเชียงใหม่ ทิศใต้       ติดต่อกับ      บ้านซางหมู่ที่ 4   ตำบลขี้เหล็ก   อำเภอแม่ริม  จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ     พื้นที่อำเภอสันทราย  ซึ่งมีแม่น้ำปิงกั้นเป็นหลักเขต
ทิศตะวันตก   ติดต่อกับ     บ้านห้วยน้ำริน หมู่ 3  ตำบลขี้เหล็ก   อำเภอแม่ริม  จังหวัดเชียงใหม่

อาณาเขตติดต่อของพื้นที่รับผิดชอบ

ทิศเหนือ  ติดต่อกับ         บ้านขี้เหล็ก  ตำบลขี้เหล็ก  อำเภอแม่ริม           
ทิศใต้     ติดต่อกับ  ตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม
ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ         ตำบลแม่แฝก  อำเภอแม่ริม
ทิศตะวันตก   ติดต่อกับ         ตำบลสะลวง  อำเภอแม่ริม

ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคม

ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพ เกษตรกรรม  ทำนา ทำสวน ทำไร่และอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือน (ทำขนมจีน,โรงบ่มยาสูบขนาดเล็ก,รับจ้าง)รายได้เฉลี่ยประมาณ 3,000 บาท/คน/เดือน ประชาชนส่วนใหญ่ ่นับถือศาสนาพุทธ ในพื้นที่มีแม่น้ำปิงขนาดใหญ่ไหลผ่านขนาบข้างหมู่บ้านซาง มีคลองชลประทานไหลผ่าน ทั้งหมู่บ้านห้วยน้ำริน  บ้านซาง และบ้านต้นขาม ชาวบ้านส่วนใหญ่ อาศัยอยู่เป็นครอบครัวขนาดเล็ก คือ มีพ่อ แม่ ลูก อยู่ร่วมกัน ลูกๆไปเรียนหนังสือ และไปทำงาน อยู่ในตัวเมืองบางครอบครัว ชาวบ้านส่วนใหญ่ ่มีฐานะปานกลาง          

   
กลับหน้าหลัก