. |
ประวัติชุมชนชุมชนเป็นชุมชนคนพื้นเมือง ก่อตั้งหมู่บ้านมาตั้งแต่เมื่อใดไม่มีใครทราบแน่นอนประวัติสถานบริการสถานีอนามัยบ้านบวกหมื้อ หมู่ที่ 1 ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง ก่อนหน้าปีงบประมาณ 2541 ตำบลขี้เหล็กมีสถานีอนามัยประจำตำบล คือ สถานีอนามัยบ้านร่ำเปิง หมู่6 ตำบลขี้เหล็ก ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของตำบล ประชาชนที่อาศัยอยู่ทางทิศเหนือของตำบล ประกอบด้วย บ้านแม่มาลัย หมู่ 9 บ้านบวกหมื้อ หมู่1 และบ้านห้วยไร่ หมู่ 9 มีปัญหาในการเข้าถึงบริการทางราชการ จึงเห็นควร ให้มีการก่อสร้างสถานีอนามัยเพิ่มอีก 1 แห่ง ในกลุ่มหมู่บ้านดังกล่าว ราษฎรบ้านบวกหมื้อ ได้ประชุมแล้ว มีมติ ให้ก่อสร้างสถานีอนามัย ในพื้นที่ธรณีสงฆ์ของวัดบวกหมื้อ หมู่1 เมื่อปีงบประมาณ 2540 ตามแบบ อาคารสถานีอนามัย 150 แบบเลขที่ 8170/36 ใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งหมด 2.7 ล้านบาท เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2541 สภาพทางภูมิศาสตร์/อาณาเขตพื้นที่รับผิดชอบทางทิศตะวันตกเป็นเนินเขาสลับกับที่ราบ ทางทิศตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มในเขตชลประทาน ด้านการปกครองเดิมมีจำนวนหมู่บ้านในความรับผิดชอบ จำนวน 4 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ 1 บ้านบวกหมื้อ หมู่ 2 บ้านแม่มาลัย หมู่ 8 บ้านปางเปา และ หมู่ 9 บ้านห้วยไร่ ในปีงบประมาณ 2549 บ้านบวกหมื้อ หมู่1 ได้แยกหมู่บ้าน หมู่ 11 ออกมา ทำให้มีหมู่บ้านในความรับผิดชอบปัจจุบันจำนวน 5 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่1 บ้านบวกหมื้อ หมู่2 บ้านแม่มาลัย ในเขตการปกครองของเทศบาลตำบลสันมหาพน หมู่ 8 บ้านปางเปา หมู่ 9 บ้านห้วยไร่ และบ้านปงแสงทอง หมู่11 ในเขตการปกครองขององค์การบริหาร ส่วนตำบลขี้เหล็ก สภาพทางเศรษฐกิจในชุมชน(อาชีพ,รายได้/ครอบครับ/ปี) การคมนาคมเส้นทางคมนาคมสายหลัก คือ ถนนสายเชียงใหม่-ฝาง และถนนแม่มาลัย-ปาย ประชาชนตั้งบ้านเรือนอยู่สองฝั่งถนนดังกล่าว ทำให้มีความสะดวกในการเดินทางทุกฤดู สำหรับการติดต่อกับอำเภอแม่แตง และอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีทางหลวง 2 สาย คือ ด้านการศึกษาประชาชนส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา วัยเด็กและเยาวชน จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น /ปลาย ปวช. ปวส. และปริญญาตรี ปริญญาโท ร้อยละ 98 สามารถอ่านออกเขียนได้ ประมาณร้อยละ 2 (ผู้สูงอายุ , ผู้พิการ ฯลฯ.)ไม่สามารถอ่านออกหรือเขียนได้ ด้านศาสนาร้อยละ 99 นับถือศาสนาพุทธ อื่นๆ ร้อยละ1 (คริสต์ อิสลาม ฯลฯ.) บทบาทขององค์กรในชุมชน/การประสานงานกับองค์กรต่างๆในชุมชนอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้นำหมู่บ้านเป็นตัวแทนของหมู่บ้าน และกลุ่มต่างๆ ในการประสานงานและนัดหมายกลุ่มต่างในชุมชน เพื่อให้กลุ่ม มีการขับเคลื่อน และมีกิจกรรมของกลุ่มอย่างต่อเนื่อง องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นแกนนำในการชักชวนกลุ่มต่างๆ ในหมู่บ้าน ร่วมกับผู้นำหมู่บ้าน ในการพัฒนาสิ่งต่างๆ ในหมู่บ้าน ผู้ติดเชื้อในชุมชนผู้ติดเชื้อไม่ค่อยกล้าที่จะเปิดเผยตัว มีผู้ติดเชื้อบางส่วนเท่านั้นที่ไปเข้ากลุ่มนอกพื้นที่ อื่นๆ |
||