กลับหน้าหลัก

 

 

สถานีอนามัยบ้านดอนตัน

 

ประวัติชุมชน

ตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่  เดิมเรียกว่าแขวงเหมืองแก้ว  จัดตั้งขึ้นในสมัยพระเจ้ากือนา  เจ้าเมืองเชียงใหม่ โดยมีพ่อขุนเหมืองแก้ว  กำธร  เป็นนายแขวงตำบล   ในสมัยนั้นได้นำชาวบ้านขุดลอกลำเหมือง แขวงเพื่อให้ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์จากลำเหมืองนั้น  แขวงเมืองจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น แขวงเหมืองแก้วตั้งแต่นั้นมา   ซึ่งเดิมอยู่ในพื้นที่การปกครองของอำเภอเมืองเชียงใหม่ ต่อมาได้โอนมาอยู่ในเขตของการปกครองของอำเภอแม่ริม  เมื่อปี พ.ศ. 2483  และได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นตำบลเหมืองแก้ว  แบ่งการปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน  จนถึงปัจจุบัน

ประวัติสถานบริการ

สถานีอนามัยบ้านดอนตัน  ตำบลเหมืองแก้ว  อำเภอแม่ริม  จังหวัดเชียงใหม่   เริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์  2516  โดยมีผู้บริหารดังนี้
1.นายบุญรัตน์   ตาเขียว          ปฏิบัติตั้งแต่ วันที่ 11  ก.พ. 2516 - วันที่ 1 ส.ค.  2521
2.นางพรรณี     ตาเขียว          ปฏิบัติตั้งแต่ วันที่  1  ส.ค. 2521 - วันที่ 14 ส.ค.  2525
3.นายแช่ม      ฝืนกระโทก       ปฏิบัติตั้งแต่ วันที่ 14  ส.ค. 2525 - วันที่ 30  พ.ค. 2532
4.นางศิริธร     ชวนประเสริฐ      ปฏิบัติตั้งแต่ วันที่  30 พ.ค. 2532 - วันที่ 25 มิ.ย. 2533
5.นางพรรณี     อรุณโรจน์        ปฏิบัติตั้งแต่ วันที่  25 มิ.ย. 2533 - วันที่ 25 ก.ย. 2537
6.นางสุมิตรา    นามวงค์พรหม    ปฏิบัติตั้งแต่ วันที่  25 ก.ย.2537 - วันที่ 8  ต.ค. 2542
7.นางต่ามหล่า   มีชัย             ปฏิบัติตั้งแต่ วันที่  8  ต.ค. 2542 - วันที่ 30 ก.ค. 2544
8.นางจินตนา    ฉิมไพบูลย์        ปฏิบัติตั้งแต่ วันที่ 30  ก.ค. 2544 - วันที่ 30 ก.ค. 2550
9.นางผ่องสี      สร้อยรอด         ปฏิบัติตั้งแต่ วันที่ 30 ก.ค. 2550 จนถึงปัจจุบัน

สภาพทางภูมิศาสตร์/อาณาเขต

ตำบลเหมืองแก้ว  เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอแม่ริม  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอแม่ริม  มีแม่น้ำปิงไหลผ่านทางทิศตะวันตกของที่ตั้ง        ตำบลเหมืองแก้วเป็นตำบลเดียวที่อยู่ฝั่งแม่น้ำปิงติดกับอำเภอสันทราย   ตำบลเหมืองแก้ว เป็นพื้นที่ราบ  และมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ            ติดต่อกับ  ตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ทิศใต้               ติดต่อกับ  ตำบลสันผีเสื้อ  อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันออก        ติดต่อกับ  ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันตก         ติดต่อกับ  ตำบลริมเหนือ ตำบลริมใต้  ตำบลแม่สา   อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

ด้านการปกครอง

ตำบลเหมืองแก้ว  มีทั้งหมด  9  หมู่  อยู่ในส่วนปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลเหมืองแก้ว  มีประชากรทั้งตำบล  5,415 คน  โดยแบ่งเขตรับผิดชอบด้านสาธารณสุข   2 สถานีอนามัย  ดังนี้  สถานีอนามัยบ้านดอนตัน รับผิดชอบหมู่ที่ 1 2 , 3, 4, 7, 9   สถานีอนามัยบ้านวังป้อง   รับผิดชองหมู่ที่ 5, 6, 8

สภาพทางเศรษกิจในชุมชน(อาชีพ,รายได้/ครอบครับ/ปี)
ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง  รองลงมาคือเกษตรกรรม  ค้าขายตามลำดับ (ข้อมูลจากองค์การบริหารส่วนตำบล เหมืองแก้ว สำรวจข้อมูล จปฐ. ประจำปี 2549) ติดกับอำเภอสันทรายซึ่งมีโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้อาชีพรับจ้าง มาอันดับหนึ่ง  อาชีพอันดับสองคือเกษตรกรรมเพราะมีแม่น้ำปิงและคลองส่งน้ำ ของชลประทานไหลผ่านทุกหมู่บ้าน

การคมนาคม

ตำบลเหมืองแก้ว ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่ริม  7 กิโลเมตร  มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 ฝั่ง อำเภอแม่ริม และทางหลวงหมายเลข 11  ฝั่งอำเภอสันทราย

ด้านการศึกษา

มีโรงเรียน  1 โรงเรียน  ประกอบด้วยระดับประถมศึกษา และ ระดับมัธยมศึกษา  ตำบลเหมืองแก้วอยู่ติดอำเภอเมือง การคมนาคมสะดวกประกอบกับประชาชนเห็นความสำคัญทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับการศึกษาหลายระดับ ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาถึงระดับปริญญาโท

ด้านศาสนา

ประชาชนตำบลเหมืองแก้ว  เป็นพุทธศาสนิกชน มีวัฒธรรมประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านานหลายชั่วอายุคนแล้ว  ปัจจุบันนี้ก็ยังมีการปฏิบัติอยู่ เช่น ประเพณีที่เกี่ยวกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาคือวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา  และวันอาสาฬหบูชา จะมีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า มีการฟังเทศน์  รับศีลและเวียนเทียน วันเข้าพรรษาจะมีการ ถวายเทียนพรรษา เป็นตัน

บทบาทขององค์กรในชุมชน/การประสานงานกับองค์กรต่างๆในชุมชน

กลุ่ม อสม.

บทบาทหน้าที่

  1. เฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสาธารณสุขในหมู่บ้าน
  2. เป็นผู้นำในการบริหารจัดการวางแผนแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนโดยใช้งบประมาณหมวด-อุดหนุนทั่วไป
  3. แจ้งสิทธิประโยชน์ของประชาชน
  4. ชี้แนะการรับบริการจากสถานีอนามัย  โรงพยาบาลแก่ประชาชน
  5. ช่วยเจ้าหน้าที่สอ.ตรวจสอบและประสานงานในหมู่บ้าน
  6. ส่งเสริมสุขภาพของประชาชนให้แข็งแรง  ทั้งทางกาย  จิต  สังคม   จิตวิญญาณ  และสิ่งแวดล้อม
  7. ประสานงานด้านสาธารณสุข
  8. ส่งเสริม  เสริมสร้าง  สุขภาพกายและสุขภาพจิตให้แข็งแรง
  9. เป็นตัวอย่างที่ดีด้านสุขภาพ
  10. สนับสนุนและส่งเสริมครอบครัวอบอุ่น  ชุมชนเข้มแข็ง
  11. หน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

กลุ่มผู้นำหมู่บ้าน

บทบาทหน้าที่

  1. แจ้งข่าวสารในหมู่บ้าน เพื่อให้ความปลอดภัยแก่หมู่บ้าน
  2. มีหน้าที่เสนอข้อแนะนำ  ให้คำปรึกษาหารือแก่ประธานกลุ่มต่าง ๆ
  3. ดูแลการปฏิบัติงานของสารวัตรกำนัน   ผู้ช่วยกำนัน  พร้อมทั้งให้คำปรึกษาด้านต่าง ๆ
  4. ปฏิบัติตามระเบียบบริหารของรัฐบาลและคำสั่งต่าง ๆ ที่ได้รับ  เช่น
    1. ให้ความเห็นชอบโครงการและแผนงานของส่วนราชการที่จะดำเนินการในหมู่บ้าน
    2. ให้ความร่วมมือทางด้านสาธารณสุข
    3. กำหนดโครงการและแผนงานที่จะดำเนินตามที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ
    4. หารายได้อื่น ๆ จากท้องที่เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในกิจกรรมและโครงการที่หมู่บ้านต้องการ
    5. ดูแลทุกข์สุข ของประชาชน
    6. ประนีประนอมข้อพิพาทระหว่างราษฎร

กลุ่มผู้สูงอาย

ทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน เช่น  กิจกรรมในวันสำคัญต่าง ๆ  ปีใหม่  สงกรานต์  วันสำคัญทางศาสนา  เป็นต้น2.  รวมกลุ่มให้ชุมชนเข้มแข็ง3.  ร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ทางสถานีอนามัย  โรงพยาบาลจัดให้  เช่น  การออกกำลังกาย  การตรวจสุขภาพประจำปี

กลุ่ม อบต.
ได้ประสานงานและดำเนินโครงการงานด้านสาธารณสุขต่างๆในชุมชนเพื่อให้ชุมชนมีความปลอดภัยก้าวหน้าและเข้มแข็ง

กลุ่มเต้าเจี้ยว

บทบาทหน้าที่

จัดหาวัสดุเพื่อนำมาผลิตเต้าเจี้ยว2. ผลิตเต้าเจี้ยว เมื่อมีการสั่งซื้อสินค้าตามจำนวนที่ลูกค้าต้องการ3. หาตลาดเพื่อนำสินค้าออกจำหน่าย4. เป็นที่ศึกษาดูงานสำหรับประชาชนทั่วไป   นักเรียน  นักศึกษา  กลุ่มฝึกอาชีพที่สนใจ

กลุ่มผู้ติดเชื้อ

บทบาทหน้าที่

บริหารจัดการกองทุน  ตรวจสอบ  กำกับดูแล   จัดสรรผลประโยชน์ของกองทุน 

    • ออกระเบียบข้อบังคับ  หรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารกองทุน
    • รับสมาชิกและจัดทำระเบียนสมาชิก4. ติดตามการชำระเงินคืนกองทุน
   
กลับหน้าหลัก