กลับหน้าหลัก

......................

 

สถานีอนามัยตำบลสันนาเม็ง

 

 

ลักษณะทั่วไปของชุมชน                                                             

ที่ตั้งและอาณาเขต
สถานีอนามัยบ้านสันนาเม็ง  ตั้งอยู่บ้านเลขที่  117 หมู่ที่ 3  ตำบลสันนาเม็ง  อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่  8.95 ตารางกิโลเมตร
ทิศเหนือ         ติดต่อกับ  ตำบลสันทรายหลวง  ตำบลเมืองเล็น
ทิศตะวันออก     ติดต่อกับ  ตำบลสันป่าเปา  ตำบลตลาดขวัญ  อำเภอดอยสะเก็ด
ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ  ตำบลสันทรายน้อย
ทิศใต้            ติดต่อกับ  ตำบลสันพระเนตร  ตำบลสันปูเลย  อำเภอดอยสะเก็ด  

ประวัติชุมชน
จากคำบอกเล่าขานตำนานของตำบลสันนาเม็ง  จากคนรุ่นก่อนที่เล่ากันมาหลายชั่วอายุคน  ของปู่ย่า ตายาย
ไม่ปรากฏ หลักฐาน ว่าประชาชนในตำบลสันนาเม็งสืบเชื้อสายมาจากชาวเม็ง ชาวมอญ  ที่อพยพมาจาก
ประเทศพม่า โดยการปลูกบ้านเรือนที่ทำจากไม้ยกพื้นสูงหลังคามุ้งด้วยหญ้าคา   สมัยก่อนเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก
ประมาณเดือน 8 เดือน 9 น้ำจะท่วมพื้นที่ของตำบลและหมู่บ้านทุกปี     ทำให้ชาวบ้านเดือนร้อนเพราะชาวบ้าน
ประกอบอาชีพเกษตรกร    คือการทำนา ทำไร่  และเมื่อเกิดการเจ็บไข้ได้ป่วย หรือการเกิดโรคระบาดในชุมชน     
ก็จะไปหาหมอแผนโบราณในหมู่บ้านรักษาด้วยสมุนไพรจากรากไม้   รักษาด้วยหมอเป่า หมอเสก  และรักษา ทางไสยศาสตร์   เช่นการระบาดของโรคตาแดง ใช้วิธีรักษาด้วยการเป่าแต่เมื่อเวลาผ่านไปความเจริญ
ได้เข้ามาสู่ชุมชน เริ่มมีคนต่างถิ่นได้อพยพเข้ามาอาศัยในตำบลสันนาเม็งเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ  คนส่วนใหญ่ ่ก็เป็นคนพื้นเมืองนับถือศาสนาพุทธทุกหลังคาเรือน   แต่ละครอบครัวอยู่อาศัยกันเป็นครอบครัวใหญ่  มีปู่ยา  ตายาย  และลูกหลานอยู่รวมกันในอาณาเขตของบริเวณบ้าน โดยไม่มีรั้วกั้น สมาชิกในบ้านทุกหลังคาเรือน มีความรักใคร่กันดี    เนื่องจากเป็นญาติพี่น้องกันหมด  มีความผูกพันกันอย่างใกล้ชิด อาศัยอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข มีการช่วยเหลือ ซึ่งกันและกันชุมชนตำบลสันนาเม็งดั้งเดิม  มีจำนวนหมู่บ้าน 7 หมู่ คือหมู่ 1บ้านร้องสัก หมู่  2  บ้านป่ากล้วย  หมู่  3  บ้านสันนาเม็ง  หมู่ 4  บ้านสันหลวง หมู่  5  บ้านหลักปัน  หมู่ 6  บ้านแม่กวง    และ หมู่ 7 บ้านคอกหมูป่า  มีวัด
จำนวน 5 วัด คือ  วัดร้องสัก   วัดสันนาเม็ง  วัดสันหลวง  วัดหลักปัน  และวัดคอกหมูป่า มีโรงเรียนจำนวน 4 โรงเรียน 
คือ โรงเรียนบ้านร้องสัก โรงเรียนบ้านสันนาเม็ง โรงเรียนบ้านสันหลวง และโรงเรียนบ้านหลักปันปัจจุบัน คงเหลือแต่ ่โรงเรียนบ้านหลักปันเท่านั้น    การศึกษาในสมัยก่อน ไม่นิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนหนังสือเท่าไรทำให้คนในชุมชน สมัยก่อนไม่รู้หนังสือเป็นส่วนมาก เพราะการเดินทางไปมาหากันในสมัยนั้น ต้องใช้ทางเดินเท้าจักรยาน และล้อเกวียนเป็นหลัก จนกระทั้งความเจริญทางด้านวัตถุได้เข้ามาแทนที่ทำให ้การคมนาคมสะดวกมากขึ้น โดยมีถนนสายเชียงใหม่ – ดอยสะเก็ด ผ่านตำบลสันนาเม็ง  ทำให้แต่ละชุมชน เริ่มมีถนนหนทางเข้าหมู่บ้าน ทำให้การคมนาคมในชุมชนดียิ่งขึ้นการเดินทางสะดวกสบาย  เปลี่ยนมาใช้รถจักรยานยนต์ และรถยนต์เพิ่มมากขึ้น  วิถีชีวิตของคนในชุมชนก็เริ่มเปลี่ยนไป     

ประวัติสถานบริการ                                         

สถานีอนามัยบ้านสันนาเม็ง  ได้เปิดดำเนินการเมื่อ ปี 2518  โดยประชาชนในตำบลสันนาเม็ง ได้ร่วมกันบริจาคเงิน ในการจัดซื้อที่ดินในการก่อสร้างเป็นสถานผดุงครรภ์ในขณะนั้น โดยมีเจ้าหน้าที่ผดุงครรภ์อนามัย มาปฏิบัติงาน ในสถานบริการ  จำนวน 1 ท่าน  และต่อมาในปี  2525 ได้ยกฐานะเป็นสถานีอนามัย  มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน  จำนวน 3  ท่าน  ในปี  2539 สถานีอนามัยบ้านสันนาเม็ง ได้ยกฐานะเป็นสถานีอนามัยขนาดใหญ่ ตามแบบก่อสร้างเลขที่ 8164/2536 กองแบบแผน สำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข  งบประมาณ 2,381,000 บาท  และในปี 2544 สถานีอนามัยบ้านสันนาเม็ง ได้เปลี่ยนฐานะอีกครั้ง  เป็นศูนย์สุขภาพชุมชนสันนาเม็ง  เครือข่ายโรงพยาบาลนครพิงค์ 
มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 3 ท่าน และมีทีมงานจากโรงพยาบาลนครพิงค์  มีช่วยปฏิบัติงาน แพทย์ 1 ท่าน
พยาบาลวิชาชีพ 2 ท่าน และทีมงานทันตกรรม

สภาพเศรษฐกิจและอาชีพ 
    

ประชาชนส่วนใหญ่ในตำบลสันนาเม็ง   คืออาชีพรับจ้าง  และค้าขาย เดิมทีเดียวประชาชน ของตำบลสันนาเม็ง ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม การทำนา ทำสวน    ต่อมาความเจริญในเข้ามาในพื้นที่ มากขึ้นทำให้การทำนา เริ่มลดลงเพราะมีปัจจัยหลายอย่าง  เช่น  พื้นที่ตำบลสันนาเม็งเป็นพื้นที่นอกเขตชลประทานในช่วงฤดูแล้ง    ไม่ค่อยมีน้ำในการเพาะปลูก   ประชาชนจึงหันไปประกอบอาชีพรับจ้าง ประกอบกับได้มีการขยายหมู่บ้านจัดสรร เข้ามาในพื้นที่สันนาเม็งมากขึ้นทำให้ชาวนาได้ขายนาให้กับนายทุน เพื่อสร้างหมู่บ้านจัดสรรกันมาก ในเขตตำบลสันนาเม็ง จึงมีหมู่บ้านจัดสรรเกิดขึ้นถึง 3 หมู่บ้าน และการกระจายไปตามพื้นที่หมู่บ้านดั่งเดิม อีกเกือบทุกหมู่บ้าน  จึงทำให้การประกอบอาชีพของคน ในพื้นที่เปลี่ยนไป ประกอบกับเยาวชนรุ่นใหม่ที่เรียนจบ ก็พากันทำงานในเมืองกันมากขึ้น ทำให้อาชีพ เกษตรกรรมจึงเหลือไม่มากในตำบลสันนาเม็ง

สภาพทางสังคมและวัฒนธรรม

ประชาชนในตำบลสันนาเม็งในสมัยดั่งเดิมนั้น มีวัฒนธรรมสืบเชื้อสายมาจากชาวเม็ง  มอญ ในประเทศพม่า
แล้วมาตั้งหลักฐานตามหมู่บ้านต่าง ๆ  เท่าที่ทราบเดิมที่เดียวมี 7  หมู่บ้าน   ประชาชนที่มาอาศัยใน
ตำบลสันนาเม็งส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ โดยยังมีความเชื้อเรื่องผี  ดังจะเห็นได้จากในปัจจุบันยังมี
การฟ้อนผีมด การเลี้ยงผีเจ้าบ้าน และผีปู่ย่า เป็นประจำทุกปี มีการสิบทอดประเพณีที่ดั้งเดิม  เช่น 
ประเพณี ปี่ใหม่เมือง  ประเพณีลอยกระทง งานปอยหลวง   ประเพณีงานบวช     และประเพณี
ขึ้นบ้านใหม่ ประชาชนในหมู่บ้านมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันไม่ว่างานส่วนรวมหรืองานส่วนตัวโดยการ
ลงแขก ปัญหาทางสังคมในปัจจุบันประชาชน  มีการเห็นแก่ตัวมากขึ้น และยังมีปัญหายาเสพติดมากขึ้น   
เพราะประชาชนและเยาวชน  ได้รับความรู้จากการเผยแพร่โฆษนา จากสื่อต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ประกอบ
กับเยาวชนได้เข้าศึกษาในตัวเมืองมากขึ้น   ทำให้นำวัฒนธรรมในเมืองมาแพร่หลายในชุมชน
มากยิ่งขึ้น ทำให้การระบาดของยาเสพติดไปอย่างรวดเร็ว และยังเป็นปัญหาของชุมชนมาตลอดหลายปีนี้

การเมืองการปกครอง

ในตำบลสันนาเม็งแบ่งออกเป็น 12 หมู่บ้าน โดยมีกำนัน   ผู้ใหญ่บ้าน   เป็นส่วนปกครอง   ส่วนการบริหาร
เป็นหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลสันนาเม็ง โดยมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสันนาเม็ง เป็นผู้บริหาร
และสมาชิกองค์การบริหารที่มาจากการเลือกตั้ง หมู่ละ 2 ท่าน   รวมเป็น 24 ท่าน ส่วนความสัมพันธ์ ระหว่างองค์การต่าง ๆ ในพื้นที่ตำบลสันนาเม็ง ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียน สถานีอนามัยบ้านสันนาเม็ง    
ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลสันนาเม็งตำบลสันนาเม็ง    กลุ่มอสม.     กลุ่มเยาวชน   กลุ่มแม่บ้าน  
กลุ่มผู้ประกอบอาชีพ   กลุ่มเด็กนักเรียน  กลุ่มผู้ป่วยเอดส์   กลุ่มผู้สูงอายุ ได้รับงบประมาณ สนับสนุน จากองค์การบริหารส่วนตำบลสันนาเม็ง เป็นอย่างดี  ไม่มีปัญหาใด ๆ เพราะนายกองค์การบริหาร
ส่วนตำบลสันนาเม็ง  เป็นนักบริหารที่ดีมองการไกล

องค์กรชุมชนต่าง ๆ  
                                      

ประชากรในตำบลสันนาเม็ง มีความสัมพันธ์และการเป็นเครือข่ายกัน  ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอาชีพกลุ่ม
ผลิตภัณฑ์ในหมู่บ้าน  กลุ่มกองทุนเงินล้าน   กลุ่มแพทย์แผนไทย    กลุ่มหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล   
  กลุ่มสมาชิกญาปนกิจศพ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มพ่อบ้านกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มเยาวชนปัญหาอุปสรรคประชาชน
ผลิตภัณฑ์อาหารบางอย่างยังไม่รับอย. และหาแหล่งจำหน่ายสินค้าหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลไม่ได้ ต้องมีการ
ประสานงานกับองค์การบริหารส่วนตำบลต่อไป8.การศึกษาและแหล่งข้อมูลข่าวสาร ประชาชนในตำบลสันนาเม็ง มีระดับการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี  ประชาชนส่วนมากมีระดับการศึกษาสูงกว่าอนุปริญญา ปริญญาตรี และปริญญาโท เป็นส่วนมาก  ส่วนผู้ที่มีระดับการศึกษาระดับ ประถมจะพบมากมาในกลุ่มผู้สูงอายุ การเข้าหาแหล่งข้อมูลข่าวสาร ในตำบลสันนาเม็งได้อย่างทั่วถึง  เพราะในแต่ละครอบครัว  มีวิทยุและโทรทัศน์ในการรับฟังข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ในพื้นที่ตำบลสันนาเม็ง มีที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน  โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหาร ส่วนตำบลสันนาเม็ง และที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล ก็เป็นสถานีถ่ายทอดข้อมูลข่าสารในระดับตำบล โดยการเปิดเครือข่ายอินเตอร์เนตให้ประชาชนมาใช้บริการได้ฟรีอีกทางหนึ่งด้วย

การสาธารณสุขและสภาวะอนามัย

สถานที่ตั้งของสถานีอนามัยบ้านสันนาเม็ง   ตั้งอยู่ในจุดศูนย์กลางของชุมชน    ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการ
ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว  เพราะมีการคมนาคมที่ดีการพัฒนาขององค์กร  สถานีอนามัยบ้านสันนาเม็ง       
เปิดให้บริการแก่ประชาชนในตำบลสันนาเม็ง  ใน ปี 2518 โดยเป็นสถานบริการผดุงครรภ์ เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว   
ต่อมาในปี 2540 ได้ยกฐานะเป็นสถานีอนามัยขนาดใหญ่  โดยได้สร้างอาคาร 2 ชั้น และในปี 2544     
ได้เป็นศูนย์ส่งเสริมสุขภาพชุมชนการดำเนินงานด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ  การป้องกันโรค  
และการฟื้นฟูสภาพได้รับสนับสนุน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสันทราย สถานีอนามัยบ้านสันนาเม็ง
มีเจ้าหน้าที่ประจำ จำนวน 5 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข หัวหน้าสถานีอนามัย 1 คน  
พยาบาลวิชาชีพ 1   คน  นักวิชาการสาธารณสุข  2  คน  และเจ้าพนักงานสาธารณสุข 1  คน 
สถานีอนามัยบ้านสันนาเม็ง  การจัดโครงสร้างบริหารภายในองค์กรสถานีอนามัยบ้านสันนาเม็ง
เปิดให้บริการ   วันจันทร์    ถึงวันศุกร์    เวลา 08.30 น. - 16.30 น.   และให้บริการนอกเวลา
ราชการเวลา 16.30 น.- 18.30 น. ส่วนในวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ เวลา 09.30 น. – 12.00 น.  
สถานีอนามัยบ้านสันนาเม็ง มีแพทย์จากโรงพยาบาลนครพิงค์  ออกมาให้บริการตรวจรักษาในวันจันทร์ 
และวันพุธ   เวลา13.30 -  15.30 น.  และทันตแพทย์   มาให้บริการสัปดาห์ละ 1 ครั้ง  ทุกวันพุธ
เวลา 09.30น.- 15.30 น.   สถานีอนามัย เป็นสถานบริการในชุมชนที่ประชาชนมารับบริการมากที่สุด
เพราะเป็นบริการใกล้ตัวใกล้ใจ สะดวก  รวดเร็ว ไม่สิ้นเปลื้องค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับการ     
และค่าบริการการรักษาพยาบาล ประชาชนในตำบลสันนาเม็งมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ากันเป็นส่วนมาก
ในประเภทต่างๆ                                                                                                                ผู้มารับบริการส่วนมากของสถานบริการ   คือ ผู้สูงอายุ   เด็กอายุ 0 -12 ป ีผู้นำชุมชน และประเภท เสียค่าธรรมเนียม 30 บาท เป็นต้น โรงพยาบาลของรัฐเป็นสถานบริการที่ประชาชน ในชุมชนมารับบริการเพิ่มมากขึ้น    ตั้งแต่มีหลักกันประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพราะสถานพยาบาลของรัฐได้มีการปรับปรุงคุณภาพในการให้บริการ แก่ผู้ป่วยมากขึ้น มีทั้งการอำนวยความสะดวดให้แก่ ่ผู้มารับบริการ   มีแพทย์    พยาบาล และเครื่องมือทางการแพทย์ ์ที่ทันสมัยไว้บริการผู้ป่วยมากขึ้น ทั้งนี้สถานีอนามัยที่เป็นเครือข่ายของโรงพยาบาล ของรัฐต้องมีระบบการส่งตัว ผู้ป่วยเข้ารับบริการมากขึ้น โรงพยาบาลเอกชนประชาชนที่เข้ารับบริการโรงพยาบาลเอกชน ส่วนมากเป็นผู้ที่มี ฐานะดีและผู้มี หลักประกันสังคม  เพราะการบริการของโรงพยาบาลเอกชน  สะดวก  รวดเร็ว รอไม่นาน     
พร้อมทั้งการให้บริการที่ผู้มารับบริการต้องการ   เพราะเป็นการบริการแบบธุรกิจต้องมีการแข่งขันกันมาก
ในแต่ละโรงพยาบาลเอกชนที่มีอยู่ในเชียงใหม่ ร้านขายยาและคลินิกเป็นสถานพยาบาลอีกแห่งหนึ่ง ที่ประชาชนในชุมชนเข้ารับบริการ เมื่อเกิดการเจ็บป่วย เล็ก ๆ น้อย ๆ   ร้านขายยา   และคลินิก           เป็นสถานที่ที่ตั้งในชุมชน และมีแพทย์หรือเภสัชให้คำปรึกษาในการใช้ยา เป็นบริการที่สะดวก รวดเร็ว  และเป็นกันเองด้วย การแพทย์ทางเลือก  กำลังเป็นที่สนใจของประชาชน  เพราะประชาชนเริ่มตื่นตัวหันมา
ใช้ยาสมุนไพรในการรักษามากขึ้นโดยไม่ต้องพึ่งแพทย์แผนปัจจุบันหรือมีการใช้บริการควบคู่กันไป 
พร้อมมีการนวดแผนไทยมากขึ้น  เมื่อเกิดมีการปวดตามร่างกาย มีนวดการคลายเส้นด้วย การแพทย์พื้นบ้าน
แต่ประชาชนในชุมชนส่วนน้อยที่ยังใช้บริการแบบการแพทย์พื้นบ้าน โดยมีการรักษากับ หมอเสก         
และหมอเป่า พบมากในผู้ป่วยที่มีบาดแผล การแพทย์พื้นบ้านเริ่มน้อยลง เพราะขาดผู้สืบทอดภูมิปัญญา
ท้องถิ่นประชากรในตำบลสันนาเม็งมีการอพยพของหมู่บ้านจัดสรร การอพยพของชาวเขาในพื้นหมู่ที่ 11
บ้านแม่กวงใต้ พร้อมทั้งการอพยพของแรงงานต่างด้าวที่มีทุกหมู่บ้านในพื้นที่ตำบลสันนาเม็ง  ทำให้การ
ทำงานด้านสาธารณสุขเป็นไปอย่างความลำบาก เพราะชาวและแรงงานต่างด้าวมีการย้ายที่อยู่กันบ่อย
เวลาเกิดโรคระบาดไม่ว่าจะเป็นโรคไข้เลือดออกโรคฉี่หนู  มีการออกสอบสวนโรค   ไม่พบตัวผู้ป่วย  
เพราะชาวเขา และแรงงานต่างด้าวเกิดความกลัวทำให้ย้ายที่อยู่ไป อยู่ที่อื่น ส่วนหมู่บ้านจัดสรรการ
เข้าหายากลำบาก เพราะประชาชนมีความรู้ มีฐานะดีไม่ค่อยมารับบริการที่สถานีอนามัย  เวลามีปัญหาทางสุขภาพ  ก็ไปโรงพยาบาลเอกชนหรือไม่ก็คลินิก  ปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือ ประชากรในหมู่บ้านจัดสรรไม่ค่อยอยู่บ้าน ในตอนกลางวันเพราะต้องไปประกอบอาชีพในเมืองและอาชีพส่วนตัว

 

 

   
กลับหน้าหลัก