ข้อมูลทั่วไป
สภาพพื้นฐาน โดยภูมิศาสตร์ สถานีอนามัยบ้านร่ำเปิง ตั้งอยู่ที่หมู่ 6 บ้านร่ำเปิง ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ กิโลเมตรที่ 32 ของทางหลวงแผ่นดินที่ 107 (ถนนเชียงใหม่ ฝาง) อยู่ในเครือข่ายของโรงพยาบาลนครพิงค์
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลสันมหาพน ,ตำบลบ้านช้าง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอสันทราย
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอแม่ริม
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลสบเปิง และตำบลสันป่ายาง
มีเนื้อที่ โดยประมาณ 60.541 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 37,838.152 ไร่
บริบทของพื้นที่
จากการที่ประชากรในตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง ได้ประสบปัญหาด้านการอนามัยแม่และเด็กที่มีอัตรา การตายของมารดาและทารกสูงมากในขณะนั้น ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของการสาธารณสุขทั่วประเทศ ทางคณะกรรมการสภาตำบลขี้เหล็กและครูใหญ่โรงเรียนบ้านร่ำเปิง ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จึงได้ร่วมกันจัดที่ดินบริเวณเนินลาดชันพื้นที่เขตป่าสงวนของตำบลขี้เหล็ก ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านร่ำเปิง หมู่ที่ 6 มีพื้นที่ 4 ไร่ 1 งาน 10 ตารางวา อยู่ทางด้านตะวันตกของถนนเชียงใหม่-ฝาง ห่างจากจังหวัดเชียงใหม่ 32 กิโลเมตร และห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่แตง 8 กิโลเมตร ให้แก่กระทรวงสาธารณสุข โดยผ่าน ทางอนามัยอำเภอแม่แตง เพื่อการจัดสร้างสำนักงานผดุงครรภ์ขึ้นในปี พ.ศ.2502 มี เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 1 คน เรียกว่า นางผดุงครรภ์ ทำการให้การบริการด้านอนามัยแม่และเด็กแก่ประชาชนตำบลขี้เหล็ก และบริเวณใกล้เคียง
พ.ศ.2512 ได้รับงบประมาณซ่อมแซมสำนักงาน พร้อมทั้งได้เริ่มดำเนินการศูนย์ โภชนาการเด็ก
พ.ศ.2524 ได้ยกฐานะขึ้นเป็นสถานีอนามัยประจำตำบลขี้เหล็ก และมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอยู่ 2 คน
พ.ศ.2526 ได้รับคัดเลือกให้เป็นสถานีอนามัยดีเด่นของเขตภาค 5 จากสภาสังคมสงเคราะห์ แห่งประเทศไทย
พ.ศ.2528 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารสถานีอนามัยแทนอาคารหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมมาก โดยเริ่มทำการก่อสร้างเดือน ตุลาคม 2529 โดยคณะกรรมการสภาตำบล คปต. อสม. ผสส. ตลอดจนราษฏรในตำบลขี้เหล็กร่วมกันจัดทำบุญฉลองอาคารสถานีอนามัยหลังใหม่
พ.ศ.2530 ได้รับอัตรากำลังใหม่ ให้เพิ่มเป็น 3 อัตรามีเจ้าหน้าปฏิบัติงาน 3 คน
พ.ศ.2536 ได้รับงบประมาณในการต่อเติมตัวอาคารด้านล่าง งบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุข
พ.ศ.2537 ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างบ้านพัก 1 หลัง จากกระทรวงสาธารณสุข
พ.ศ.2546 ได้รับงบประมาณต่อเติมสำนักงานชั้นล่างเพิ่มจากที่มีอยู่ เพื่อความสะดวกของผู้ป่วย ในการรับบริการ จากโรงพยาบาลนครพิงค์
ภูมิประเทศ
ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าไม้ ประมาณ 65 % และเป็นพื้นที่ราบ เพาะปลูกประมาณ 35 %
สภาพเศรษฐกิจ
อาชีพของประชากร โดยเรียงลำดับจากมาที่สุดไปหาน้อยที่สุด
- เกษตรกรรม
- รับจ้าง
- พนักงานบริษัท ห้างร้าน
- ค้าขาย
- รับราชการ
- รัฐวิสาหกิจ
ธุรกิจในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
-ปั๊มน้ำมันและก๊าซ 5 แห่ง
-โรงงานอุตสาหกรรม 3 แห่ง
-โรงสีข้าว 1 แห่ง
-โรงงานผลิตน้ำดื่ม 3 แห่ง
-ร้านค้าทั่วไป 40 แห่ง
สภาพทางสังคม
1. การศึกษา
- โรงเรียนประถมศึกษา/มัธยม ขยายโอกาส 4 แห่ง
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ 10 แห่ง
2. สถาบันและองค์กรทางศาสนา
-วัด/สำนักสงฆ์ 12 แห่ง
3. สถานพยาบาลของเอกชน(คลินิกแพทย์)
- คลินิกเอกชน 4 แห่ง
- ร้านขายยาโดยเภสัช 4 แห่ง
4. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- สถานีตำรวจ (ตู้ยามตำรวจ) 2 แห่ง
5. กีฬา นันทนาการ/พักผ่อน
-ลานกีฬาอเนกประสงค์ 4 แห่ง
-สนามฟุตบอล 4 แห่ง
-สนามบาสเก็ตบอล 2 แห่ง
-สนามตะกร้อ 5 แห่ง
-สวนสาธารณะ 1 แห่ง
การบริหารพื้นฐาน
1. การคมนาคม/จราจร
1.1 ถนน จำนวน 138 สาย ใช้การได้ดี 106 สาย ต้องปรับปรุง 32 สาย
- ถนนคอนกรีต 51 สาย ใช้การได้ 50 สายต้องปรับปรุง 1 สาย
- ถนนลาดยางแอสฟัลท์ติก จำนวน 8 สาย
- ถนนลูกรัง จำนวน 79 สาย ใช้การได้ 8 สาย ต้องปรับปรุง 31 สาย
1.2 ทางแยกของถนนสายหลักแยกไปอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 2 สาย
2. การประปา
2.1 ครัวเรือนที่ใช้น้ำประปา จำนวน 1,059 หลังคาเรือน
2.2 หน่วยงานเจ้าของกิจการประปา คือ คณะกรรมการบริหารประปาหมู่บ้าน
3. การไฟฟ้า
3.1 หมู่บ้านที่ใช้ไฟฟ้าเข้าถึง 10 หมู่บ้าน
3.2 ประชากรที่ใช้ไฟฟ้า 1,605 ครัวเรือน
3.3 ไฟฟ้าสาธารณะ 74 จุด
4. แหล่งน้ำ
4.1 แหล่งน้ำธรรมชาติ
- หนองบึง 7 แห่ง
- คลอง ลำธาร ห้วย 6 สาย
4.2 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- เขื่อน /ฝาย 7 แห่ง
- สระน้ำ 15 แห่ง
- บ่อน้ำ 367 แห่ง ( มีน้ำใช้ตลอดปี 310 แห่ง )
- ถังเก็บน้ำฝน 45 แห่ง
จุดเด่นของพื้นที่
มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ดังนี้
- พระพุทธบาทข่วงเปา
- พระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิม
- ตลาดนัดวันพฤหัส (แม่มาลัย)
ผลผลิต/ผลิภัณฑ์ที่สำคัญของตำบล
- เครื่องปั้นดินเผา
- เสื้อผ้าพื้นเมือง
- ไส้อั่วบ้านอิฐ
- ร้านเสาวรส
- ผลิตภัณฑ์สมุนไพร การนวดแผนไทย
ด้านวัฒนธรรม จารีต ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
การปกครอง คุ้มครอง ควบคุม ดูแลรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติได้แก่
-โครงการส่งเสริมอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม กิจกรรมทางศาสนา และสนับสนุนภูมิปัญญาในท้องถิ่น
- การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน