กลับหน้าหลัก

.

 

สถานีอนามัยตำบลแม่แรม

 

ประวัติชุมชน

ตำบลแม่แรม  ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของอำเภอแม่ริม  เป็นตำบลที่มีมาแต่เดิม  ประชากรส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ  มีการตั้งถิ่นฐานแบบรวมกลุ่มทั้งบนพื้นที่ราบและพื้นที่สูง ชุมชนบนพื้นที่ราบ เป็นชุมชนเก่า  ส่วนพื้นที่สูงเป็นชุมชนชาวเขา ได้แก่ เผ่ามั้ง  ปากายอ  แต่มีการขยายชุมชนใหม ่ที่เกิดจากการพัฒนาการท่องเที่ยว  ตั้งบ้านเรือน  ร้านค้าตามแนวถนน และในบริเวณเป็นแหล่งท่องเที่ยว

ประวัติสถานบริการ

สถานีอนามัยบ้านทุ่งโป่ง ก่อตั้งแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2517  ในหมู่ที่ 1 บ้านน้ำตกแม่สา  ตำบลแม่แรม  อำเภอแม่ริม  จังหวัดเชียงใหม่  อยู่บริเวณที่ราบลุ่ม  ติดลำน้ำแม่สา  และอยู่ติด วัดน้ำตกแม่สา  มีเนื้อที่  1.5 ไร่ ปัจจุบันสถานีอนามัยบ้านทุ่งโป่งได้สร้างขึ้นใหม่ในพื้นที่กว่า 7 ไร่  ประกอบด้วยตัวอาคารสำนักงาน พร้อมบ้านพัก  สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.  2548  ทำการมาจนถึงปัจจุบัน

สภาพทางภูมิศาสตร์/อาณาเขต
สภาพทั่วไป เป็นพื้นที่เนินเขา บริเวณสูงที่สุดของตำบลแม่แรม คือ  ดอยคว่ำหล้อง สูงจากระดับน้ำทะเล  1,459  เมตร  มีเนื้อที่ประมาณ  110.5  ตารางกิโลเมตร
ทิศเหนือ   ติดต่อกับ       ตำบลห้วยทราย และตำบลสะลวง  อำเภอแม่ริม  จังหวัดเชียงใหม่
ทิศใต้                 ติดต่อกับ       ตำบลแม่สา และตำบลโป่งแยง  อำเภอแม่ริม  จังหวัดเชีบงใหม่
ทิศตะวันออก          ติดต่อกับ       ตำบลริมใต้ และตำบลริมเหนือ  อำเภอแม่ริม  จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันตก           ติดต่อกับ       ตำบลโป่งแยง  และอำเภอสะเมิง  จังหวัดเชียงใหม่

ด้านการปกครอง

ตำบลแม่แรม มีขอบเขตการรับผิดชอบ  12  หมู่บ้าน  มีกำนัน  และผู้ใหญ่บ้านจำนวน  12  คน มีสมาชิก สภาองค์การบริหารส่วนตำบลแม่แรมจำนวน  22  คน    ฝ่ายบริหาร  4  คน  ฝ่ายนิติบัญญัติ 3 คน

สภาพทางเศรษฐกิจในชุมชน (อาชีพ,รายได้/ครอบครับ/ปี)
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม  รองลงมาประกอบอาชีพค้าขาย  และรับจ้างรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากร ประมาณ  35,702  บาท/ปี

การคมนาคม

สถานีอนามัยบ้านทุ่งโป่ง ตั้งอยู่หมู่ที่  1  ถนนแม่ริม - สะเมิง ตำบลแม่แรมตั้งอยู่บริเวณตอนกลาง ของอำเภอแม่ริม  สถานีอนามัยบ้านทุ่งโป่ง  ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่ริม  ประมาณ  7  กิโลเมตร  หางจากโรงพยาบาลนครพิงค์  ประมาณ  17  กิโลเมตร  หมู่บ้านที่ไกลสุดห่างจากสถานีอนามัยบ้านทุ่งโป่ง ประมาณ  20  กิโลเมตร

ด้านการศึกษา

โรงเรียนประถมศึกษา            3  แห่ง
โรงเรียนมัธยม(ขยายโอกาส)     1  แห่ง
ศูนย์ดูแลเด็กเล็ก                 4  แห่ง
ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน      12  แห่ง
หอกระจายข่าว                  12  แห่ง
ห้องสมุดประจำตำบล              1  แห่ง

ด้านศาสนา

วัด/สำนักสงฆ์                    1  แห่ง
โบสถ์                            1  แห่ง
สำนักปฏิบัติธรรม                 1  แห่ง

บทบาทขององค์กรในชุมชน/การประสานงานกับองค์กรต่างๆในชุมชน

อาสาสมัครสาธารณสุข     165  คน
สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล  29  คน
กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน            12  คน
อปพร.                     100  คน
กลุ่มผู้สูงอายุ 12  คน
กลุ่มเยาวชน  12  คน
กลุ่มผู้ติดเชื้อ 1  คน

   
กลับหน้าหลัก